หน่วยการเรียนรู้ ภาษาไทยเลอค่าภาษาชาติ
รหัสวิชา ท 23101 รายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 12 ชั่วโมง
1. เป้าหมายการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
1.1 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาใน
การดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องในรูปแบบต่างๆเขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 1. อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองถูกต้องเหมาะสมกับการอ่าน
2. มีมารยาทในการอ่าน
3. คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
4. เขียนข้อความตามสถานการณ์ได้ถูกต้อง
5. มีความรู้ความเข้าใจมารยาทในการเขียน
1.2 สาระการเรียนรู้
4.1 การอ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรอง
4.2 มารยาทในการอ่าน
4.3 การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
4.4 การเขียนข้อความตามสถานการณ์
4.5 มารยาทในการเขียน
1.3 สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
การระบุความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย ควรมีมารยาทใน การอ่าน คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด มีความรู้ความเข้าใจการเขียนชีวประวัติหรืออัตชีวประวัติ
มีมารยาทในการเขียน
1.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1) ความสามารถในการคิด
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการประเมิน
2) ความสามารถในการสื่อสาร
1.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1) มีวินัย
2) ใฝ่เรียนรู้
2. การกำหนดหลักฐานผลการเรียนรู้
2.1 ชิ้นงาน / ภาระงาน
1) ชิ้นงาน
1. คำขวัญ คำคม ตามหัวข้อที่กำหนด
2. คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
2) ภาระงาน
1. อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองตามกำหนด
2.2 การวัดและประเมินผล
1) การประเมินผลระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- การอ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรอง ( แบบประเมินอยู่ท้ายหน่วยการเรียนรู้)
- การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ( แบบประเมินอยู่ท้ายหน่วยการเรียนรู้)
2) การประเมินเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้
- คำคม คำขวัญ ( แบบประเมินอยู่ท้ายหน่วยการเรียนรู้)
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ( แบบประเมินอยู่ท้ายหน่วยการเรียนรู้)
3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ / สื่อการเรียนรู้
3.1 กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1-4 การอ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรอง
ขั้นนำ
ครูนำหนังสือชนิดต่าง ๆ มาให้นักเรียนดู เช่น สารคดี นิทาน วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ฯลฯ แล้วสนทนากับนักเรียนถึงเรื่องการอ่านออกเสียงหนังสือประเภทต่าง ๆ เหล่านี้
ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูแจกใบความรู้เรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ให้แก่นักเรียนทุกคน แล้วให้ทุกคนศึกษาตามที่ครูอธิบายประกอบ
2. ครูให้นักเรียนฝึกอ่านคำ และข้อความที่มีคำควบกล้ำจากใบความรู้ประกอบการอ่านที่แจกให้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการอ่านออกเสียงต่อไป
3. ครูให้นักเรียนดูวีดีทัศน์การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
4. ให้นักเรียนเลือกอ่านออกเสียงข้อความจากบทอ่านออกเสียงร้อยแก้วคนละ 1 หัวข้อ ฝึกอ่านให้คล่องเสียก่อน
5. ครูให้นักเรียนแต่ละคนออกมาอ่านออกเสียงร้อยแก้วตามบทอ่านที่ได้เลือกไว้ เพื่อน ๆ ฟัง ครูและเพื่อน ๆ ช่วยกันวิจารณ์ เสนอแนะและชมเชยเพื่อเป็นกำลังใจ
6. ครูสรุปผลการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว พร้อมแจกใบประเมินผลการอ่านออกเสียงร้อย
แก้วคืนให้นักเรียน
7. ครูแจกใบความรู้ เรื่อง “อ่านออกเสียงนั้นสำคัญไฉน” ของ ปรีชา ช้างขวัญยืน ให้นักเรียนทุกคนอ่านในใจ เมื่ออ่านจบแล้วสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
8. ครูให้นักเรียนเลือกอ่านออกเสียงข้อความจากบทอ่านออกเสียงร้อยแก้วคนละ 1 หัวข้อ แล้วฝึกอ่านคล่อง เมื่อฝึกอ่านได้คล่องแล้วครูก็จับฉลากเรียกชื่อนักเรียนแต่ละคนออกมาอ่านออกเสียงร้อยแก้วตามบทอ่านที่เลือกไว้ให้เพื่อน ๆ ฟัง เพื่อน ๆ และครูช่วยกันวิจารณ์ เสนอแนะชมเชยและให้กำลังใจ
9. ครูสรุปผลการอ่านออกเสียงร้อยแก้วของนักเรียนแต่ละคน พร้อมแจกใบประเมินผลการอ่านออกเสียงร้อยแก้วคืนให้แก่นักเรียน
10. ครูแจกตัวอย่างบทประพันธ์ร้อยแก้วที่ควรท่องจำไว้ ให้แก่นักเรียนทุกคน แล้วให้นักเรียนเลือกท่องตำคำประพันธ์บทใดบทหนึ่งนำมาท่องให้เพื่อน ๆ ฟังหน้าชั้นเรียน
11. ครูนำแถบบันทึกเสียงการอ่านบทร้อยกรองมาเปิดให้นักเรียนฟัง แล้วสนทนาเรื่อง “การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง” หรือ “การอ่านทำนองเสนาะ”
12. ครูแจกใบความรู้ประกอบเรื่อง “การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง” ให้นักเรียนทุกคน แล้วให้นักเรียนศึกษาเรื่องการอ่านบทร้อยกรองจากใบความรู้นั้น โดยครูเป็นผู้อธิบายประกอบอย่างละเอียดโดยเริ่มตั้งแต่หัวข้อดังต่อไปนี้
- ความหมายของ “บทร้อยแก้ว”
- ความหมายของ “การอ่านทำนองเสนาะ”
- รสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ
- หลักในการอ่านทำนองเสนาะ
- ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ
13. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาเรื่อง “การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง หรือการอ่านทำนองเสนาะ” ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบ เรื่อง “การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง” เสร็จแล้วนำมาส่งครูตรวจ
14. ครูเปิดเครื่องบันทึกเสียงการอ่ารนบทร้อยกรอง “กลอนสุภาพ” ให้นักเรียนฟัง และครูสนทนากับนักเรียน ในเรื่องการอ่าน “กลอนสุภาพ” ว่ามีวิธีการอ่านอย่างไร
15. ครูแจกแบบฝึกการอ่าน “กลอนสุภาพ” ให้นักเรียนทุกคน แล้วให้นักเรียนช่วยกันแบ่งจังหวะการหยุด หรือช่วยจังหวะในการอ่าน บทร้อยกรอง บทที่ 1 บัดเดี่ยวดังหง่างแหง่งวังเวงแว่ว (ครูแก้ไขให้ถูกต้องด้วย)
16. ครูให้นักเรียนคนใดคนหนึ่ง อ่านออกเสียงบทร้อยกรอง “กลอนสุภาพ” บทที่ 1 ตามจังหวะการหยุดให้เพื่อนฟัง โดยให้อ่านออกเสียงธรรมดาก่อน
17. ให้นักเรียนทุกคนอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง เป็นเสียงธรรมดาพร้อม ๆ กัน เพื่อดูว่าแบ่งช่วงจังหวะการหยุดในการอ่านได้ถูกต้องหรือไม่
18. ครูอ่านหรือเปิดเครื่องบันทึกเสียงการอ่านบทร้อยกรองบทที่ 1 ให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนฝึกอ่านพร้อม ๆ กันทั้งชั้นเรียนหรือจะให้อ่านเป็นกลุ่ม ๆ ก็ได้ (แล้วแต่ความเหมาะสม)
19. ครูให้นักเรียนแต่ละคนหรือกลุ่ม อ่านทำนองเสนาะบทร้อยกรองในบทที่ 1 ให้เพื่อนฟัง แล้วครูและเพื่อน ๆ ผู้ฟังช่วยกันวิจารณ์ติชม
20. ครูให้นักเรียนช่วยกันอธิบายความหมายของบทร้อยกรอง บทที่ 1 ว่ามีความหมายอย่างไร มีสาระอะไรเป็นที่น่าสนใจบ้าง
21. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ให้แต่ละกลุ่มเลือกบทอ่านจากแบบฝึกหัดการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง “กลอนสุภาพ” กลุ่มละ 1 บท หลังจากที่แต่ละกลุ่มฝึกอ่านกันพอสมควรแล้ว ก็ให้อ่านให้เพื่อน ๆ ฟัง จนครบทุกกลุ่ม เมื่ออ่านจบครูและนักเรียนช่วยกันวิจารณ์ ติชม พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการอ่าน
22. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลการอ่านทำนองเสนาะของนักเรียนแต่ละกลุ่ม จากนั้นครูให้นักเรียน นำตัวอย่าง บทร้อยกรองที่ควรท่องจำที่ครูแจกไปเมื่อคาบที่แล้วขึ้นมาท่องคนละ 1 บท เพื่อท่องให้ครูและเพื่อน ๆ ฟัง
ขั้นสรุป
นักเรียนอภิปรายซักถามร่วมกันและสรุปประโยชน์ของการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
ร้อยกรองประเภทกลอนสี่สุภาพ
ชั่วโมงที่ 5-8 เรื่อง การคัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
ขั้นนำ
สนทนากับนักเรียนถึงข้อความที่นักเรียนเคยได้พบเห็นว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรโดยเลือกถามนักเรียน 1-2 คน ช่วยกันยกตัวอย่างข้อความและเขียนข้อความบนกระดานดำเพื่อนนักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่าข้อความที่เขียนแตกต่างกันอย่างไร
ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
1. แจ้งจุดประสงค์ปลายทาง วิธีการเรียน การวัดผลประเมินผลในจุดประสงค์นี้ พร้อมทั้งเกณฑ์การผ่านจุดประสงค์ เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมตัวเรียนได้ถูกต้อง
2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เรื่อง การ
เขียนคัดลายมือ เพื่อจะได้ทราบพื้นฐานความรู้เดิมของนักเรียนในการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 4 ข้อ
3. เลือกนักเรียน 1 คน ออกไปเขียนคำว่า รสนิยม ที่กระดาษดำแล้วพิจารณาถึงความถูกต้องและเหมาะสมของข้อความโดยเปรียบเทียบกับบัตรคำ
4. นักเรียนศึกษาเอกสารประกอบการค้นคว้า เรื่อง การเขียนคัดลายมือ เมื่อนักเรียนอ่านจบแล้ว สรุปใจความสำคัญบันทึกลงสมุดจดงาน
5. นักเรียนศึกษาหลักการคัดลายมือจากเอกสารประกอบการค้นคว้า เรื่อง การคัดลายมือแล้วให้นักเรียนดูตัวอย่างการคัดลายมือที่ถูกต้องสวยงาม การเว้นวรรคตอน พร้อมทั้งให้นักเรียนสังเกตดูตัวระยะความห่างของตัวอักษรเพื่อความถูกต้อง
6. นักเรียนทำกิจกรรมที่ 1 และ กิจกรรมที่ 2 ในใบงานที่ 1 เรื่อง การเขียนคัดลายมือ
ประเภทร้อยแก้ว ร้อยกรอง ลงสมุดวิชาภาษาไทย
7. นักเรียนคัดลอกเสร็จตรวจทานดูความถูกต้องเรียบร้อยอีกครั้งแล้วส่งครู ครูตรวจผลงานการคัดลายมือของนักเรียนทุกคนแล้ว สรุปผลการคัดลายมือของนักเรียนทุกคนว่ามีข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางในการคัดลายมือในโอกาสต่อไป จากนั้นนำผลงานนักเรียนที่ถูกต้องตามแบบ สะอาด เรียบร้อยและสวยงามมาติดที่ป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นตัวอย่าง เป็นขวัญและกำลังใจให้นักเรียน
8. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เรื่อง การเขียน
คัดลายมือ เพื่อจะได้ทราบถึงความรู้ที่นักเรียนได้เรียน ซึ่งใช้แบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ข้อ
ขั้นสรุป
ครูให้นักเรียนฝึกการคัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัดอย่างต่อเนื่องในการบันทึกข้อมูลต่างๆ
ชั่วโมงที่ 9-12 การเขียนคำขวัญ คำคม
ขั้นนำ
ครูนำตัวอย่างคำขวัญและคำคมให้นักเรียนได้อ่าน นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 14 เรื่อง การเขียนคำขวัญและคำคม
2. นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
3. ครูกำหนดให้นักเรียนเขียนคำขวัญ 1 คำขวัญและคำคม 1 คำคม โดยให้นักเรียนเลือกเขียน 1 หัวข้อจากวันสำคัญต่อไปนี้
3.1 วันภาษาไทย
3.2 วันเยาวชนแห่งชาติ
3.3 วันโรคเอดส์โลก
3.3 วันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
3.5 วันครู
3.6 วันลอยกระทง
4. นักเรียนนำเสนอคำขวัญและคำคมหน้าชั้นเรียน
5. ครูและนักเรียนร่วมกันติชมผลงาน
ขั้นสรุป
นักเรียนสรุปคุณค่าที่ได้จากการเขียนคำขวัญและคำคม
แบบบันทึกการประเมินการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
คำชี้แจง ให้ผู้สังเกตพิจารณาคุณภาพของผู้เรียนแต่ละคน แล้วเขียนเครื่องหมาย ü ลงในช่องระดับคะแนน
ชื่อ-สกุล
|
พฤติกรรม/ระดับคะแนน
| ||||||
การจับหนังสือ/พลิกหนังสือ/ท่าทางในการอ่านถูกต้อง
3
|
อ่านถูกต้องตามอักขรวิธี
3
|
การเว้นวรรคตอน
ถูกต้อง
3
|
น้ำเสียงเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน
3
|
ไม่อ่านข้าม/อ่านเพิ่ม/ตู่คำ
3
|
อ่านเสียงดัง
เหมาะสม
3
|
รวม
18
| |
1
| |||||||
2
| |||||||
3
| |||||||
4
| |||||||
7
| |||||||
.
| |||||||
.
| |||||||
.
| |||||||
.
| |||||||
.
| |||||||
.
| |||||||
.
| |||||||
ฯลฯ
|
ข้อเสนอแนะ
…………………………………………………………………………………………………………………………..
ลงชื่อ ......................................................................ผู้ประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินการอ่านออกเสียง
ประเด็นการประเมิน |
เกณฑ์การให้คะแนน
| ||
3
|
2
|
1
| |
การจับหนังสือ/พลิก
หนังสือ/ท่าทางใน
การอ่านถูกต้อง
|
ลักษณะท่าทาง การวาง
และการจับหนังสือถูกต้อง
|
ลักษณะท่าทาง การวางและการจับหนังสือไม่ถูกต้อง ๑ อย่าง
|
ลักษณะท่าทาง การวางตามอักขรวิธีออกเสียง
และการจับหนังสือไม่ถูกต้อง ๒ อย่าง ขึ้นไป
|
อ่านถูกต้องตาม
อักขรวิธี
|
อ่านถูกต้องตามอักขรวิธีออกเสียง ร และคำควบกล้ำ ร ล ว ชัดเจน
|
อ่านถูกต้องตามอักขรวิธีออกเสียง ร และคำควบ-กล้ำ ร ล ว ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง
|
อ่านไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ออกเสียง ร และ คำควบกล้ำ ร ล ว
ไม่ชัดเจนเลย
|
การเว้นวรรคตอน
ถูกต้อง
|
อ่านเว้นวรรคตอนได้ถูกต้องตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่
ต้นจนจบเรื่อง
|
อ่านเว้นวรรคตอนผิดบ้างเป็นบางครั้ง
|
อ่านเว้นวรรคตอนผิดตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่ต้น
จนจบเรื่อง
|
น้ำเสียงเหมาะสมกับ
เรื่องที่อ่าน
|
อ่านเสียงดัง ชัดเจน น้ำ-
เสียงเหมาะสมกับเรื่องที่
อ่าน
|
อ่านเสียงดัง ชัดเจน น้ำ-เสียงเหมาะสมบ้างเป็นบางครั้ง
|
อ่านเสียง ไม่ชัดเจน น้ำ-เสียงไม่เหมาะสมกับเรื่องที่อ่านตลอดทั้งเรื่อง
|
ไม่อ่านข้าม/อ่านเพิ่ม
/ตู่คำ
|
อ่านออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจนทุกคำ ทุกข้อความทุกประโยค
|
อ่านออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจนเป็นบางคำ มีการอ่านตู่คำ เพิ่มคำและตู่คำเป็นบางครั้ง
|
อ่านออกเสียงไม่ถูกต้องไม่ชัดเจน อ่านข้ามคำอ่านเพิ่มคำและตู่คำมาก
|
อ่านเสียงดัง
เหมาะสม
|
อ่านเสียงดัง ชัดเจน ได้ยินทั่วถึงกันทั้งห้องเสียงดังสม่ำเสมอ
|
อ่านเสียงดังบ้างเป็นบางครั้ง เสียงไม่สม่ำเสมอ
|
อ่านเสียงเบาได้ยิน
ไม่ทั่วถึง
|
แบบบันทึกการประเมินการอ่านออกเสียงร้อยกรอง
คำชี้แจง ให้ผู้สังเกตพิจารณาคุณภาพของผู้เรียนแต่ละคน แล้วเขียนเครื่องหมาย ü ลงในช่องระดับคะแนน
ชื่อ-สกุล
|
พฤติกรรม/ระดับคะแนน
| ||||
การออกเสียง
4
|
การใช้ภาษา
4
|
การสอดแทรกอารมณ์
4
|
ความคิดสร้างสรรค์
4
|
รวม
16
| |
1
| |||||
2
| |||||
3
| |||||
4
| |||||
7
| |||||
.
| |||||
.
| |||||
.
| |||||
.
| |||||
.
| |||||
.
| |||||
.
| |||||
ฯลฯ
|
ข้อเสนอแนะ
…………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………..
ลงชื่อ ......................................................................ผู้ประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินการอ่านออกเสียงร้อยกรอง
ประเด็นการประเมิน |
พฤติกรรม/ระดับคะแนน
| |||
4
|
3
|
2
|
1
| |
การออกเสียง
|
เสียงดังฟังชัดมีอักขรวิธีที่ถูกต้อง
|
เสียงดังฟังชัดมีอักขรวิธีที่ถูกต้องบ้าง
|
เสียงดังฟังชัดมีอักขรวิธีไม่ถูกต้อง
|
เสียงไม่ค่อยดังชัดเจนมีอักขรวิธีไม่ถูกต้อง
|
การใช้ภาษา
|
ใช้ภาษาถ้อยคำได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
|
ใช้ภาษาถ้อยคำได้ถูกต้องแต่ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ
|
ใช้ภาษาถ้อยคำได้บกพร่องอยู่บ้าง
|
ใช้ภาษาถ้อยคำบกพร่องอยู่มาก
|
การสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึก
|
สอดแทรกอารมณ์เหมาะสมในการอ่านอย่างชัดเจน
ยิ่งขึ้น
|
สอดแทรกอารมณ์เหมาะสมในการอ่านอย่างเหมาะสม
|
สอดแทรกอารมณ์เหมาะสมในการอ่านเป็นบางครั้ง
|
ขาดอารมณ์ในการอ่าน
|
ความคิดสร้างสรรค์
|
มีความคิดสร้างสรรค์ในการอ่านที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร
|
มีความคิดสร้างสรรค์ในการอ่านแตกต่างจากคนทั่วไป
|
มีการปรับปรุงการอ่านจากการอ่านทั่วไป และสร้างสรรค์เพิ่มเติมให้ดีขึ้นเล็กน้อย
|
อ่านเหมือนกับการอ่านตามตัวอย่างที่พบเห็นโดยทั่วไป
|
แบบประเมินการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
คำชี้แจง เขียนเครื่องหมายü ที่ 1,2,3 ตรงกับพฤติกรรมของนักเรียนตามรายการที่สังเกต
รายการประเมิน
|
รวมคะแนน
| |||||
ชื่อ-สกุล
|
ลักษณะตัวอักษร
3
|
การวางสระวรรณยุกต์
3
|
ความถูกต้อง
3
|
การเว้นช่องไฟ
3
|
ความสะอาดเรียบร้อย
3
|
15
|
1
| ||||||
2
| ||||||
3
| ||||||
4
| ||||||
7
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
ฯลฯ
|
ประเด็นการประเมิน |
พฤติกรรม/ระดับคะแนน
| ||
3
|
2
|
1
| |
ลักษณะตัวอักษร
|
ตัวอักษรเป็นรูปแบบเดียวกัน หัวไม่บอด ตัวตรง และมีขนาดสม่ำเสมอ
|
ตัวอักษรเป็นรูปแบบเดียวกัน หัวไม่บอด ตัวเอนหลังเล็กน้อย มีขนาดไม่สม่ำเสมอ
|
ตัวอักษรเป็นรูปแบบเดียวกัน หัวไม่บอด ตัวตรง และมีขนาดสม่ำเสมอ
|
การวางสระวรรณยุกต์
|
วางสระ วรรณยุกต์ถูกที่ตลอดข้อความ
|
วางสระ วรรณยุกต์ไม่ถูกที่ 1-5 แห่ง
|
วางสระ วรรณยุกต์ไม่ถูกที่ 6 แห่งขึ้นไป
|
ความถูกต้อง
|
คัดลอกข้อความถูกต้องตลอดข้อความ
|
คัดลอกข้อความผิด ตก หรือเพิ่ม 1-2 แห่ง
|
คัดลอกข้อความผิด ตก หรือเพิ่ม 3 แห่งขึ้นไป
|
การเว้นช่องไฟ
|
เว้นช่องไฟสม่ำเสมอ สวยงาม
|
เว้นช่องไฟไม่สม่ำเสมอ แต่สวยงาม
|
เว้นช่องไฟไม่สม่ำเสมอ แต่สวยงาม
|
ความสะอาดเรียบร้อย
|
สะอาดไม่มีรอยขูด ขีด ฆ่า และรอบคอบ
|
สะอาดไม่มีรอยขีดฆ่า มีรอยลบ 1-2 แห่ง
|
สะอาดไม่มีรอยขีดฆ่า มีรอยมากกว่า
2 แห่ง
|
แบบประเมินการเขียนคำขวัญ คำคม
คำชี้แจง เขียนเครื่องหมายü ตรงกับพฤติกรรมของนักเรียนตามรายการที่สังเกต
รายการประเมิน
|
รวม
| |||||
ชื่อ-สกุล
|
เนื้อหาสาระ
3
|
การใช้ภาษา
3
|
อักขรวิธี
3
|
ความคิดสร้างสรรค์
3
|
ความสะอาดเรียบร้อย
3
|
คะแนน
15
|
1
| ||||||
2
| ||||||
3
| ||||||
4
| ||||||
7
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
.
| ||||||
ฯลฯ
|
ประเด็นการประเมิน |
พฤติกรรม/ระดับคะแนน
| ||
3
|
2
|
1
| |
เนื้อหาสาระ
|
ถูกต้องชัดเจนน่าสนใจมาก
|
ถูกต้องชัดเจนน่าสนใจพอใช้
|
ไม่ชัดเจนและน่าสนใจ
|
การใช้ภาษา
|
ใช้ภาษาถ้อยคำได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
|
ใช้ภาษาถ้อยคำได้ถูกต้องแต่ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ
|
ใช้ภาษาถ้อยคำบกพร่องอยู่บ้าง
|
อักขรวิธี
|
ถูกต้องตามอักขรวิธี
ทุกคำ
|
ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี
1-2 คำ
|
ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี 3 คำขึ้นไป
|
ความคิดสร้างสรรค์
|
มีความคิดสร้างสรรค์ในการอ่านที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร
|
มีความคิดสร้างสรรค์ในการอ่านแตกต่างจากคนทั่วไป
|
มีการปรับปรุงการอ่านจากการอ่านทั่วไป และสร้างสรรค์เพิ่มเติมให้ดีขึ้นเล็กน้อย
|
ความสะอาดเรียบร้อย
|
สะอาดไม่มีรอยขูด ขีด ฆ่า และรอบคอบ
|
สะอาดไม่มีรอยขีดฆ่า มีรอยลบ 1-2 แห่ง
|
สะอาดไม่มีรอยขีดฆ่า
มีรอยมากกว่า 2 แห่ง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น