วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา ท 23102  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เวลา  60 ชั่วโมง  จำนวน 1.5  หน่วยกิต ภาคเรียนที่ 2

                ศึกษาการอ่านวิเคราะห์วิจารณ์  การอ่านประเมินค่า  การอ่านตีความและประเมินค่า   การเขียนข้อความตามสถานการณ์   การเขียนอธิบายชี้แจง แสดงความคิดเห็นและโต้แย้ง  การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากสื่อต่างๆ การกรอกแบบสมัครงาน   การเขียนรายงานและโครงงาน   การพูดในโอกาสต่างๆ  การพูดโน้มน้าว  ระดับภาษา  การใช้คำทับศัพท์  การใช้คำศัพท์บัญญัติ  การใช้คำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ  การแต่งบทร้อยกรอง  การวิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรม 
โดยอ่านวิเคราะห์วิจารณ์  ตีความและประเมินค่า  อ่านแสดงความคิดเห็น  อ่านตีความและประเมินคุณค่าตามความสนใจ   เขียนข้อความตามสถานการณ์   เขียนอธิบายชี้แจง แสดงความคิดเห็นและโต้แย้ง  เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากสื่อต่างๆ  กรอกแบบสมัครงาน  เขียนรายงานและโครงงานจากการค้นคว้า  พูดในโอกาสต่างๆ  พูดโน้มน้าว   ใช้ระดับภาษา  ใช้คำทับศัพท์  ใช้คำศัพท์บัญญัติ   อธิบายคำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ    แต่งบทร้อยกรอง   การวิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรม   วิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรม   
  เพื่อให้เห็นคุณค่าในการอ่าน   เพิ่มพูนสมรรถนะการอ่านการเขียนการฟัง การ ใช้ภาษาอย่างถูกต้อง  นำไปใช้ในการสื่อสาร  มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง ดูและการพูด เห็นคุณค่าวรรณคดี  วรรณกรรมและวรรณกรรมท้องถิ่นในฐานะเป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิใจในความเป็นไทย



มฐ ท 1.1   ม 3/5  ม 3/6   ม.3/7   ม 3/8   3 / 9
มฐ ท 2.1   3/6   3/7   3/8   3/9 
มฐ ท 3.1  3/3   3/4   3/5    3/6
มฐ ท 4.1  ม 3 /3  3/4   ม 3/5   ม 3/6
มฐ ท 5.1  3/2   3/3
จำนวน  19  ตัวชี้วัด




โครงสร้างรายวิชาภาษาไทย
รหัสวิชา ท 23102 ภาคเรียนที่ 2
ระดับชั้นมัธยมศึกษา ชั้น ม.3    เวลา  60  ชั่วโมง  จำนวน 1.5  หน่วยกิต
ลำดับที่
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้
เวลา(ชั่วโมง)
น้ำหนักคะแนน
1
บทละครน่าสนใจให้ข้อคิด
  ท 1.1 ม 3 / 7
  ท 2.1 ม 3 / 6
  ท 3.1 ม 3 / 5

ท 3.1 ม 3 / 6
ท 2.1 ม 3 / 8
- การอ่านวิจารณ์จากเรื่อง
- การเขียนแสดงความคิดเห็นและโต้แย้ง
- การพูดโน้มน้าวนำเสนอหลักฐาน
  ตามลำดับเนื้อหา
- มารยาทการฟัง การดู และการพูด
- การกรอกแบบสมัครงาน
12
20
2
อิศรญาณภาษิต
ชวนพินิจตามวิถี
ท 5.1 ม 3 / 2

  ท 2.1 ม 3/ 7


ท 4.1 ม 3 /4
ท 4.1 ม 3 /5
ท 4.1 ม 3 /6
- การวิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่า
  วรรณกรรมวรรณคดีที่อ่าน
- การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์และ
  แสดงความรู้ความคิดเห็นหรือโต้แย้ง
  จากสื่อต่างๆ
- การใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
- การใช้คำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ
- การแต่งบทร้อยกรองอย่างสร้างสรรค์
18
30
3
ศึกษาค้นคว้ารายงานหลากวิธี
ท 1.1 ม 3 / 8

ท 2.1 ม 3 / 9

ท 3.1 ม 3 / 3
ท 3.1 ม 3 / 4
- การอ่านแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง
  จากเรื่องที่อ่าน
- การเขียนรายงานและโครงงาน
  จากการศึกษาค้นคว้า
- การพูดรายงานจากการค้นคว้า
- การพูดในโอกาสต่างๆ ตรงตามจุดประสงค์
12
20
4
บทพากย์เอราวัณ/กวีนิพนธ์ข้อคิดดีน่าติดตาม

ท 1.1 ม 3 / 5
ท 1.1 ม 3 / 6
ท 1.1 ม 3 / 9
ท 5.1 ม 3 / 3

ท 4.1 ม 3 /3
- การอ่านวิเคราะห์วิจารณ์ประเมินค่า
- การอ่านประเมินความถูกต้อง
- การอ่านตีความและประเมินค่า
- การสรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน
  วรรณกรรมและวรรณคดี
- ระดับภาษา
18
30


มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
รหัสวิชา ท 23102 ภาคเรียนที่ 2
ระดับชั้นมัธยมศึกษา ชั้น ม.3  เวลา  60  ชั่วโมง  จำนวน 1.5  หน่วยกิต
สาระที่ 1    การอ่าน

มาตรฐาน ท 1.1  ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการ

                           ดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

ท 1.1 ม 3 / 5       วิเคราะห์วิจารณ์ประเมินค่าจากการอ่าน
ท 1.1 ม 3 / 6      ประเมินความถูกต้องของข้อมูลจากการอ่าน
ท 1.1 ม 3 / 7      วิจารณ์จากเรื่องที่อ่าน
ท 1.1 ม 3 / 8      แสดงความคิดเห็นโต้แย้งจากเรื่องที่อ่าน
ท 1.1 ม 3 / 9     ตีความและประเมินค่าจากการอ่าน
สาระที่ 2    การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1    ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ
ท 2.1 ม 3 / 6       เขียน อธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็นและโต้แย้ง
ท 2.1 ม 3 / 7       เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์และแสดงความรู้ความคิดเห็นหรือโต้แย้ง
จากสื่อต่างๆ
                                ท 2.1 ม 3 / 8       กรอกแบบสมัครงาน
ท 2.1 ม 3 / 9       เขียนรายงานและโครงงานจากการศึกษาค้นคว้า
สาระที่ 3    การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐาน ท 3.1  สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ   

                        ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

ท 3.1 ม 3 / 3       พูดรายงานจากการค้นคว้า
ท 3.1 ม 3 / 4       พูดในโอกาสต่างๆ ตรงตามจุดประสงค์
ท 3.1 ม 3 / 5       การพูดโน้มน้าวนำเสนอหลักฐานตามลำดับเนื้อหา
ท 3.1 ม 3 / 6       มารยาทการฟัง การดู และการพูด
สาระที่ 4    หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน  ท 4.1  เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา 
                              ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ท 4.1 ม 3 /3         วิเคราะห์ระดับภาษา
ท 4.1 ม 3 /4         ใช้คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
ท 4.1 ม 3 /5         อธิบายความหมายคำศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ
ท 4.1 ม 3 /6         แต่งบทร้อยกรองอย่างสร้างสรรค์
สาระที่ 5  วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน  ท 5.1  เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า

                         และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

                        ท 5.1 ม 3 / 2      วิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าวรรณกรรมวรรณคดีที่อ่าน
ท 5.1 ม 3 / 3       สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านวรรณกรรมและวรรณคดี